ภาวะการเรียนรู้ถดถอย

สศช. ชี้ปิดเรียนยาวช่วงโควิด เกิดภาวะการเรียนรู้ถดถอย 60.5%

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงภาวะสังคมประจำไตรมาส 1 ปี 2565 ว่า ปัจจุบันมีปัญหาสำคัญเกิดขึ้นในสังคมไทย คือ ภาวะการเรียนรู้ถดถอยหรือการสูญเสียการเรียนรู้ (Learning loss) ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากความไม่ต่อเนื่องในการศึกษา การออกกลางคัน การขาดเรียน และการสอนที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ทำให้มีการปิดเรียนเป็นระยะเวลานานและส่งผลให้เด็กสูญเสียการเรียนรู้อย่างรุนแรง

โดยธนาคารโลกได้ประมาณการในปี 2563 ว่าการปิดเรียนกว่า 3-9 เดือนอาจทำให้เด็กหนึ่งคนสูญเสียความสามารถในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 6,472 -25,680 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ ประมาณ 217,000- 864,000 บาท คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียรวมทั่วโลกประมาณ 10-17 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 560 ล้านล้านบาท

ขณะที่ประเทศไทย งานศึกษาของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า เด็กชั้นอนุบาล 3 ที่โรงเรียนถูกปิดในช่วงเดือนมกราคมเป็นระยะเวลานานถึง 1 เดือน มีระดับคะแนนความพร้อม (school readiness) ต่ำกว่านักเรียนกลุ่มที่สามารถไปเรียนได้ตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ ผลการสำรวจสถานการณ์การศึกษา จากครูและบุคลากรทางการศึกษา ของ กสศ. พบว่า ปัญหาการเรียนรู้ถดถอยของนักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

โดยนักเรียนประถมศึกษาตอนต้นเป็นระดับที่มีปัญหาภาวะถดถอยมากที่สุด 60.5% ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดแคลนอุปกรณ์ การไม่มีสมาธิในการเรียนออนไลน์ รวมถึงผู้ปกครองไม่มีเวลาติดตามการเรียน สอนการบ้านให้ไม่ได้ และมีฐานะยากจน

ปัจจุบันประเทศไทยมีเครื่องมือในการลดช่องว่างการเรียนรู้ที่เห็นผลสำเร็จ คือ นวัตกรรม Learning Box หรือชุดกล่องการเรียนรู้ที่ได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อช่วยสร้างการเรียนรู้นอกห้องเรียน ลดข้อจำกัดด้านอุปกรณ์และสัญญาณอินเทอร์เน็ต เสริมพลังครูให้สามารถออกแบบการเรียนรู้ตามพื้นที่และบริบท ถือเป็นเครื่องมือในการรองรับการเปิดเรียนเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย

นอกจากนี้ การเรียนรู้ถดถอยทำให้เกิดการปรับตัวของผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม โดยเกิดการผลักดันการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีอย่างกว้างขวาง การสร้างรูปแบบทางการศึกษาใหม่ ๆ อาทิ outshool.com การมีคลังความรู้อย่าง BrainPOP แอปพลิเคชันใหม่ที่ช่วยเสริมสร้างความรู้และพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่งผลให้ฐานการเรียนรู้จากโรงเรียนมีความสำคัญลดลง และอาจจำเป็นต่อการปรับกระบวนทัศน์การจัดการศึกษาที่ให้ผู้เรียนเป็นฐานการเรียน ดังนั้น ภาครัฐและคนในสังคมจำเป็นต้องเร่งสร้างระบบนิเวศน์การเรียนรู้และปรับปรุงโครงสร้างการศึกษาที่สนับสนุนให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ linesandlundgreenyuma.com

UFA Slot

Releated